เทคนิคการบวกเลขเศษส่วน

ข้อสอบแนวแข่งขัน มักจะมีโจทย์เกี่ยวกันการบวกเลขเศษส่วนที่ต้องอาศัยการสังเกตุ แล้วจะได้วิธีคิดที่รวดเร็ว ตัวอย่างเช่น

 

1/2 + 1/6 + 1/12 + 1/20 + …..+ 1/132

สังเกตุที่ตัวส่วน จะเห็นได้ว่า สามารถแยกตัวประกอบได้ดังนี้

 

2 = 1×2

6 = 2×3

12 = 3×4

20 = 4×5

.

.

.

132 = 11×12

จะเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขเรียงกันคูณกัน สามารถแตกได้ดังนี้

 

1/2 = 1 – 1/2

1/6 = 1/2 – 1/3

1/12 = 1/3 – 1/4

1/20 = 1/4 – 1/5

.

.

.

1/132 = 1/11 – 1/12

 

จะเห็นได้ว่าเมื่อนำมาบวกกันทั้งหมด จะได้หักล้างกัน เหลือแค่ตัวแรก ลบตัวสุดท้ายเท่านั้นคือ 1 – 1/12 = 11/12

 

เทคนิคนี้มีในโจทย์การแข่งขั้น ทั้งราชภัฏ Tedet สสวท สพฐ ASMO สมาคมคณิตศาสตร์ แต่อาจจะมีการพลิกแพลงบ้าง ซึ่งถ้าเด็กเข้าใจพื้นฐานตรงนี้แล้ว สามารถนำโจทย์ที่ยากขึ้นแต่ใช้หลักการนี้มาลองให้เด็กฝึกทำได้ค่ะ

ตัวอย่างข้อสอบราชภัฏ ป.5-6

ใส่ลูกแก้วในถังพลาสติกใสทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีน้ำอยู่ครึ่งถัง 20 ลูก ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น 8 เซนติเมตร แต่เมื่อใส่ลูกแก้วลงไปอีก 20 ลูก ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น 6 เซนติเมตร และมีน้ำล้นออกจากถัง 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถังใบนี้จุน้ำได้กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

 

ลูกแก้ว 20 ลูก ใส่ลงไป 2 ครั้ง มีปริมาตรเท่ากัน เพราะฉะนั้นรอบแรกน้ำสูงขึ้น 8 เซนติเมตร รอบหลังสูงขึ้น 6 เซนติเมตร และมีน้ำล้นออกมา 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่า น้ำสูง 2 เซนติเมตร มีปริมาตร 60 ลูกบาศ์เซนติเมตร

 

ถังใบนี้มีความสูงครึ่งถัง   8 + 6 = 14 เซนติเมตร

ดังนั้น ถังใบนี้สูง 14 * 2= 28 เซนติเมตร

 

ความจุถังน้ำจึงเท่ากับ ( 60/2) * 28 = 840 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นคำตอบ